Wednesday, December 2, 2015

PA-POSDCoRB

https://www.gotoknow.org/posts/425983

ของฝากสำหรับผู้ ( เตรียม ) บริหารสถานศึกษาและหน่วยงาน

          เพื่อเป็นการทบทวน คำว่า   POSDCORB  ซึ่ง ดร.ชุบ  กาญจนประการ ได้เพิ่มคำว่า  PA- เข้าไปเป็น

PA- POSDCORB  กล่าวคือต้องมีนโยบาย ( P-Policy) ที่...แน่ชัด  ....มีการจัดมอบ- กระจายอำนาจ                        ( A- Authority) ที่แน่แน่...มีการวางแผน  ( P-Planning) ที่แน่นอน...มีการจัดองค์กร  ( O-Organization) ไม่สับสน ...มีการจัดวางกำลังคน (S-Staffing) ที่มีประสิทธิภาพและใช้คนให้ตรงกับงาน (  put the right  man  on  the  right  job  )  ...มีการอำนวยการ (D – Directing ) อย่างนักวิชาการ....มีหลักการประสานงาน                     ( Co-Coordinating) โดยการมีมนุษยสัมพันธ์อย่างเชี่ยวชาญ...มีการรายงานผล ( R-Reporting)  การดำเนินงานและ....มีหลักการบริหารงบประมาณ( B-Budgeting) อย่างชาญฉลาด...หรือถ้าจะเอาทีทันสมัยและนิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็ต้องใช้ทฤษฎีการบริหารตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Quality Circle)

หรือ PDCA   ที่หมายถึงการรู้จักวางแผน( Plan )ทุกชิ้นงาน / รู้การดำเนินงาน ( Do )ตามแผนอย่างรอบคอบ/

รู้และดำเนินการตรวจสอบ-ติดตามผลการดำเนินงาน ( Check)/ และรู้การปรับปรุงแก้ไข ( Act ) ผลกำดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

                นอกจากนี้ดร.สมชาย  เทพแสง ได้กล่าวว่า สิ่งที่ผู้บริหารควรมีนอกเหนือจาก ภูมิรู้  ภูมิธรรม และภูมิฐาน แล้ว ก็ควรจะได้ศึกษาองค์ประกอบแนวทางการบริหารที่เรียกว่า  20 PS  เป็นส่วนเพิ่มเติมในการบริหารด้วย ดังนี้

Psychology   -          มีจิตวิทยาในการบริหารPersonality   -           มีการจัดการด้านบุคลิกภาพPioneer       -          มีความซึ่ง- ทราบด้านการคิดริเริ่มและบุกเบิกอย่างสร้างสรรค์Poster         -         มีการประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปากParent        -         มีความบากบั่น  อดทน ( มีเมตตา  กรุณา  มุฑิตา  อุเบกขา ) ดุจพ่อแม่Period         -         มีความแน่วแน่และเที่ยงตรงต่อการบริหารเวลาPacific         -           มีความสุขุมรอบคอบPleasure      -           ชอบใช้อารมณ์ขัน เพื่อแก้ไขความตึงเครียดPrudent       -              ไม่ขี้เกียจสร้างวิสัยทัศน์ให้กว้าง- ไกลPrinciple       -              ยึดหลักชัยและทฤษฎีในการทำงานPerfect         -              ไม่เกียจคร้านที่จะทำงานให้เสร็จอย่างสมบูรณ์Point            -              เพิ่มพูนงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนPlan             -              เน้นการวางแผนทุกขั้นตอนอย่างรอบคอบPay              -              มอบหมายงานอย่างถ้วนทั่ว โดยไม่เลือกที่รัก  มักที่ชัง เพื่อสร้างขวัญและ                                   กำลังใจParticipation                                เอาใจใส่ให้ความสำคัญด้านการมีส่วนร่วมPundit            -              รวมพลังกายใจ ใฝ่เรียนรู้งาน ที่ทำเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จPolitic            -              รอบรู้งานการเมือง-การปกครอง     ให้เบ็ดเสร็จ เพื่อเข้าถึงประชาชนPoet                -              ทำตัวให้เป็นผู้ช่ำชองด้านการใช้สำนวน-โวหาร เพื่อการจัดการ-บริหารPerception    -              ต้องคาดการณ์-หยั่งรู้และตรวจทาน ได้อย่างทันเหตุการณ์Psycho           -              มีจิตวิญญาณของนักบริหารอย่างเต็มศักยภาพ

 

                ดร.สมชาย  เทพแสง  ได้กล่าวถึงแนวทางในการสร้างองค์กรให้เข้มแข็ง หรือยุทธศาสตร์ที่จะส่งถึงผลสำเร็จต่อการบริหารว่าควรยืดหลัก CARD คือ

                1.   C-Constancy   -              ความซื่อสัตย์แน่วแน่และจริงจัง

                2.  A- Aim           -              ความมุ่งหวังหรือเป้าหมายที่ตรงกรอบ

                3.  R- Responsibility         ความรับผิดชอบและเอาใจใส่งาน

                4.  D-Democracy               ใช้หลักการประชาธิปไตยในการ(ทำ )บริหารกับภูมิคุ้มกัน

               

                และยังมีภูมิคุ้มกัน  6  RE- ที่จะช่วยให้เสริมให้องค์กรเข้มแข็งยิ่งขึ้น

                1.  Realisable       -              มีความเข้าใจในการจัดองค์กร

                2.  Rearrange       -              รู้จักการประสานเพื่อปรับปรุง

                3.  Reformation  -              มุ่งสู่การปฏิรูปองค์การเพื่อให้เกิดมรรคผล

                4.  Relationship  -              อุทิศตนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

                5.  Religion          -              มุ่งสร้างความเชื่อ-ศรัทธา

                6.  Report             -              หาแนวทางประเมินผลการปฏิบัติงาน

               

                หวังเป็นอย่างยิ่งว่าว่าที่ผอ. และผู้บริหารทั้งหลายคงได้แนวคิดเพื่อการบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างศรัทธา  ความพึงพอใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย ที่จะให้การสนับสนุนช่วยเหลือองค์กรให้มีประสิทธิภาพต่อไป

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/425983

No comments:

Post a Comment