Wednesday, December 2, 2015

PAMS-POSDCoRB กับนิสัยคนไทย

กระบวนการบริหาร (PAMS-POSDCoRB) ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ กำหนดนิยามศัพท์ ไว้ดังนี้
1. การบริหารนโยบาย (Policy : P) หมายถึง กระบวนการบริหารนโยบายสาธารณะ            ที่เกี่ยวกับหลักและวิธีปฏิบัติที่องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสาธารณะหรือการพัฒนาหน่วยงานในอนาคตในช่วงระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงวิสัยทัศน์ของการพัฒนาองค์การ ที่กำหนดออกมาเป็นนโยบาย แนวทาง หรือโครงการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
2. การบริหารอำนาจหน้าที่ (Authority : A) หมายถึง การบริหารที่เกี่ยวอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์การหรือหน่วยงาน และมีกฎหมายรองรับ
3. การบริหารจริยธรรม (Morality : M) หมายถึง  การบริหารที่เกี่ยวกับธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติในการบริหารงานของบุคลากร  เช่น บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตบริสุทธิ์ใจ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีเมตตา การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ รวมทั้งการปฏิบัติราชการตามมาตรฐานคุณธรรมจริยธรรมของหน่วยงานที่กำหนด
4. การบริหารที่เกี่ยวข้องกับสังคม (Society : S) หมายถึง การบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่คำนึงและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมชุมชนหรือประชาชนส่วนรวม โดยการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ บำรุงศิลปะ จารีตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น การจัดบุคคลากรต้อนรับและให้ความช่วยเหลือประชาชนคอยต้อนรับ ตอบคำถาม ให้คำแนะนำ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี เป็นต้น รวมทั้งการบริหารงานที่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น การรับฟังความคิดเห็น การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่น ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบการบริหารของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่
5. การวางแผน (Planning : P) หมายถึง การจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลการคิดหาวิธีการที่จะใช้ในการบริหาร เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรายละเอียดของงานที่จะทำในอนาคต ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายและเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ โดยมีกระบวนการบริหารตั้งแต่การเตรียมการทำแผน การวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยเพื่อหาทางเลือกในการพัฒนา      การปฏิบัติตามแผนโดยกำหนดงบประมาณเพื่อลงมือปฏิบัติตามแผนนั้นๆ และการประเมินผลแผนโดยเปรียบเทียบวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อปรับแผนหรือนำไปใช้ต่อไป
6. การจัดโครงสร้างขององค์กร (Organizing : O) หมายถึง การบริหารที่เกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง รวมทั้งการจัดส่วนราชการ  ในการกำหนดตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ สายงานการบังคับบัญชา รวมถึงการแบ่งโครงสร้างเป็นหน่วยงานหลักหรือหน่วยงานปฏิบัติการ (line) และหน่วยงานรองหรือหน่วยงานที่ปรึกษา (staff)
7. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staffing : S) หมายถึง การบริหารงานที่เกี่ยวกับบุคลากรของ ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชประจำ การสรรหา คัดเลือก และการบรรจุแต่งตั้งบุคคลทำงานในตำแหน่งต่างๆ ตลอดจนการนำระบบคุณธรรมมาใช้ในการเลื่อน ลด ปลด ย้าย โอน และ          ปูนบำเหน็จรางวัล เป็นต้น
8. การอำนวยการ (Directing : D) หมายถึง การบังคับบัญชา สายการบังคับบัญชา            การควบคุมและรับผิดชอบการบริหารงานของเทศบาล รวมถึงการใช้อำนาจและอิทธิพลของผู้บริหารในการชักจูงให้ปฏิบัติงาน/ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตามตำแหน่งหน้าที่ในแต่ละ    สายงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
9. การประสานงาน (Coordination : Co) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การบริหาร ส่วนตำบล กับบุคคล และระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลด้วยกัน และความสัมพันธ์ระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับประชาชน เป็นการสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ โดยเป็นการบริหารที่จัดระเบียบหรือจัดวิธีการปฏิบัติงานเพื่อลดความซ้ำซ้อน และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชน
10. การรายงาน (Reporting : R) หมายถึง การรายงานเสนอความเห็นหรือยื่นเรื่องร้องเรียน การควบคุมตรวจสอบและการประเมินผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล จากภายในและภายนอก และการจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามกฎหมายกำหนด
11. การงบประมาณ (Budgeting : B) หมายถึง การบริหารงบประมาณและการบริหารการคลังตามแนวทางรัฐประศาสนศาสตร์ แสดงให้เห็นรายละเอียดของงบประมาณการใช้จ่ายในรูปของบัญชีรายจ่ายอย่างถูกต้อง และชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการใช้เงิน การคลัง การงบประมาณ
ส่วนสมพงษ์ เกษมสิน กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง การใช้ศาสตร์และศิลป์ในการนำเอาทรัพยากรการบริหาร คือ 4 M’s เช่น คน (Man) เงิน (Money)วัสดุอุปกรณ์สิ่งของ (Meterial) และการจัดการ (Management) มาประกอบกับการบริหารจัดการ โดยต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของแต่ละบุคคล (วิรัช วิรัชนิภาวรรณ,2554:1-6, อ้างใน สมพงศ์ เกษมสิน,2514:13-14) สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 จาก//www.wiruch.com/articles.  และ ชุบ กาญจนประกร  กล่าว่า “การบริหาร หมายถึง การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (สุขุมวิทย์ โสยโสภภณ, 2551: 94) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับกลุ่ม
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัย ได้ให้ความหมายของ การบริหารจัดการว่า การบริหารจัดการ หมายถึง การดำเนินงานขององค์กร หรือกลุ่มต่างๆ โดยใช้แนวคิดของกระบวนการ PAMS-POSDCoRB ในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
(วิรัช วิรัชนิภาวรรณ ) เคยได้วิเคราะห์ถึงลักษณะอุปนิสัยของคนไทย 30 ประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ไว้น่าสนใจอย่างยิ่ง ได้แก่ 1) คนไทยเชื่อเรื่องเวรกรรม โดยไม่มีเหตุผล 2) คนไทยชอบถ่อมตัวและยอมรับชนชั้นในสังคม ทำให้ผู้มีอำนาจขาดคุณธรรม “เหลิงอำนาจ” 3) คนไทยยึดถือระบบอุปถัมภ์ หรือเรียกว่า “ข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย” ต่อมาจึงกลายเป็นระบบอุปถัมภ์และระบบพอกพ้อง 4) คนไทยไม่ยอมรับคนที่มีอายุเท่ากันหรือต่ำกว่า เกิดจากระบบอุปถัมภ์ทำให้คนไทยนิยมยกย่องเฉพาะผู้อาวุโสกว่า 5) คนไทยพึ่งพาพึ่งพิงคนอื่น คนไทยติดนิสัยต้องคอยพึ่งผู้อื่น เพราะคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ต่อต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศ ทำให้คนไทย   ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความริเริ่ม ไม่กล้าคิด ไม่กล้าแสดงออก 6) ไม่รู้จักประมาณตน ต้องการมีหน้ามีตา หน้าใหญ่ใจโต ทำตัวฟุ้งเฟื้อ เช่นการกู้หนี้ยืมสินมาจัดงานบวชหรืองานแต่งต่างๆ เป็นต้น ทำให้มีหนี้สินมากและยิ่งยากจน 7) คนไทยรักอิสรเสรี รักความเป็นไท ไม่อยู่ในระเบียบ “ทำได้ตามใจคือไทยแท้” ส่งผลให้ประเทศขาดประสิทธิภาพ 8) ไม่ชอบค้าขายในอดีตคนไทยเชื่อว่าอาชีพที่รับการยกย่องคืออาชีพรับราชการ ดังคำที่ว่า “สิบพ่อค้าไม่เท่าหนึ่งพระยาเลี้ยง” เพราะการ ค้าขายต้องเอาอกเอาใจลูกค้า ทำให้อาชีพค้าขายตกเป็นของคนจีน อินเดีย เป็นต้น 9) คนไทยชอบ เอาตัวรอดและโยนความผิดให้ผู้อื่น เห็นจากพฤติกรรมที่เรียกว่า “ขายผ้าเอาหน้ารอด” ทำตัวเป็น   ศรีธนนชัย ลื่นไหลไปเรื่อยๆ หรือคำว่า “รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” เป็นต้น ทำให้ประเทศหาเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบที่แท้จริงได้ยาก คนไทยส่วนมากขอ “รับแต่ชอบไม่ยอมรับผิด” 10) คนไทยไม่ชอบรวมกลุ่มและขาดการร่วมมือประสานงาน คนไทยมีความสามารถเฉพาะตัวมากแต่ชอบฉายเดี่ยว หากจะทำงานร่วมกับคนอื่น ก็ทำให้ความสามารถลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง เพราะเกิดการอิจฉาริษยากัน ตรงกับคำที่ว่า “มากหมอมากความ” 11) คนไทยขาดการวางแผน ชอบมองโลกในแง่ดี โดยไม่คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต  เมื่อปัญหาเกิดก็แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดังคำที่ว่า “สุกเอาเผากิน” ทำให้งานไม่มีทิศทาง ไม่รอบคอบ หละหลวมและล้มเหลวง่าย 12) คนไทยชอบการพนัน เหล้า และสนุกสนาน ชอบเสี่ยงโชค ชอบหวังน้ำบ่อหน้า ชอบเฮฮาสนุกสนานรื่นเริง 13) คนไทยเกียจคร้าน ชอบความสะดวกสบาย หลีกเลี่ยงงานหนัก ขาดความมุมานะอดทด 14) คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบสภาพเดิมๆ ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยากลำบาก  15) คนไทยเห็นแก่ตัวและเอาแต่ได้  ชอบเอาเปรียบกินแรงคนอื่น เช่น ตนเองไม่ใช่    คนยากจน แต่แสแสร้งทำตัวเป็นคนจนเพื่อขอรับสวัสดิการจากรัฐ ทำให้งบประมาณรัฐรั่วไหล    16) นิสัยลืมง่าย คนไทยลืมง่าย ให้อภัย เห็นอกเห็นใจ นิสัยนี้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ   ในแง่ผู้กระทำผิด โกงบ้านเมือง อาจกลับมากระทำผิดอีกครั้งเพราะคนไทยให้อภัยได้                    17) ชอบอภิสิทธิ์ ชอบสิทธิพิเศษ  ทำให้เกิดการสร้างความเลื่อมล้ำทางสังคม  18) คนไทยมีนิสัยฟุ่มเฟือย ไม่ประหยัดอดออม รสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำ มีอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในแง่คนไทยยิ่งยากจนมากขึ้น 19) คนไทยไม่รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ นิสัยนี้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือสองฝ่ายหมกมุ่นอยู่กับการแก้แค้นกันในเรื่องส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม ทำให้เกิดความวุ่นวาย และแตกความสามัคคี  20) คนไทยไม่ยกย่องผู้หญิงมากเท่าที่ควร ทั้งที่ผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย แต่กลับยกย่องผู้ชายเป็นผู้นำส่วนมาก  21) มีจิตใจคับแคบ ไม่อยากเห็นใครเด่นเกิน ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย 22) ชอบสร้างอิทธิพล แสดงความเป็นเจ้าของ ทำให้ประเทศถูกผูกขาดเฉพาะกลุ่มและเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และประชาชนไม่ได้รับประโยชน์ 23) ชอบประนีประนอม     คนไทยชอบประนีประนอมพบกันครึ่งทาง ทำให้การพัฒนาประเทศไม่ได้ผลชัดเจน 24) คนไทย    ไม่ตรงต่อเวลา ชอบผ่อนผันเรื่องเวลา ทำให้ต่างประเทศมองว่าคนไทยขาดความรับผิดชอบ          25) คนไทยไม่รักษาสาธารณสมบัติ เป็นลักษณะนิสัยไม่สนใจทำนุบำรุงรักษาของส่วนรวม สาธารณะสมบัติไม่ใช่ของส่วนตัว  เห็นจากการทำลายตู้โทรศัพท์ การสลักชื่อไว้ตามกำแพงวัด    เป็นต้น 26) คนไทยชอบพูดมากกว่าทำ ทำให้ผู้ที่เขาทำงานจริงหมดกำลังใจ เพราะมีนักช่างพูดจำนวนมาก 27) คนไทยยกย่องวัตถุ หรือชอบวัตถุนิยม นับถือเงินเป็นพระเจ้า ทำให้ขาดคุณธรรม จริยธรรม  ทำให้คนไทยขาดน้ำใจ ตกเป็นทาสของเงิน 28) ชอบของฟรี คนไทยชอบของแถมชอบของฟรี ชอบการสงเคราะห์ โดยไม่ยอมพึ่งตนเอง นิสัยนี้ทำให้คนไทยทำสิ่งใดแล้วหวังผลทำแทน ไม่รู้จักเสียสละ หรือทำงานด้วยจิตสำนึกส่วนรวม 29) คนไทยชอบสอดรู้สอดเห็น ทำให้เสียเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นประโยชน์ 30) ขาดจิตสำนึกและอุดมการณ์เพื่อชาติบ้านเมือง คนไทยชอบคิดเสมอว่า “ประเทศไม่ใช่ของเขาคนเดียว” ดังนั้นเมื่อคิดทำการใดก็จะมุ่งหวังผลกำไรมากกว่าที่ควร

No comments:

Post a Comment